มีปฏิกิริยาหรือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลายแบบในทารก และเราสามารถนำการตอบสนองเหล่านี้มาใช้ในการเรียนว่ายน้ำ ปฏิกิริยาเหล่านี้เป็นการตอบสนองโดยอัตโนมัติของร่างกายต่อสิ่งเร้าหลากหลายแบบ ทารกบางคนจะเริ่มเตะขาทันทีที่เราเอาเค้าลงน้ำในสระ และพยายามขยับร่างกาย เหยียดแขนขาทั้งตัวเพื่อขยับตัวในน้ำ ทารกบางคนจะเตะขาเมื่อเค้าถูกขยับตัวซ้ายขวาหรือหมุนตัวเค้าไปรอบๆในน้ำ ในขณะที่บางคนอาจจะนิ่งไม่ขยับตัวเลยก็ได้ เราเรียกว่า Kicking Reflex หรือ ปฏิกิริยาการเตะขา

ระหว่างปฏิกิริยานี้ ร่างกายของทารกจะมีตื่นเต้นมีความสุขในการขยับตัวตั้งแต่วัยเล็ก และเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับคุณพ่อคุณแม่และทารกในการเคลื่อนไหวตัวในน้ำ การตอบสนองนี้จะคงอยู่ประมาณ 9 เดือน
แม้ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้ตั้งใจ แต่เราสามารถนำเอาการตอบสนองนี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนว่ายน้ำ โดยทารกจะสามารถเรียนรู้ที่จะเตะขา และพัฒนาไปสูการทักษะอื่นที่ดีได้เมื่อสมองและร่างกายของเขาพร้อมสำหรับการควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้แล้ว จากโอกาสในการเตะขาและออกกำลังในการเรียนว่ายน้ำนี้เอง เราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมต่อการเรียนได้ในคลาสว่ายน้ำโดย ใช้การออกคำสั่งแบบทั้งที่ผ่านคำพูดและไม่ใช้คำพูดมาช่วย

ด้วยวัตถุประสงค์ของการเรียนคือ เพื่อความปลอดภัยในน้ำ เราจะช่วยให้ทารกปลอดภัยในน้ำและบริเวณที่มีน้ำได้แม้ว่าเขาจะยังเตะขาไม่ได้ก็ตาม เป็นเรื่องดีที่เราจะสามารถส่งเสริมความแข็งแรงของร่างกายได้ในเวลาเดียวกัน ทารกทุกคนแตกต่างกัน พวกเขาจะเรียนรู้ได้ตามระดับของการประสานกันของร่างกายและพัฒนาการของตนเอง คุณพ่อคุณแม่ที่ได้ทำกิจกรรมการเรียนว่ายน้ำกับลูกจะได้ทราบถึงความมหัศจรรย์ต่อการตอบสนองของเขาต่อคำว่า ?Kick?

Written by: Saman, Swimming Coach @ BABY POOL Thailand

การจับคว้า (Gripping) และการเสริมสร้างกำลังในการเรียนว่ายน้ำ

ทารกมีความสามารถจับคว้าอย่างเหนียวแน่นได้ เช่น สามารถจับของเล่นและเสื้อผ้า ทารกนั้นเกิดมาพร้อมกับปฏิกริยาการจับ (Grasp ...

Read More

10 เหตุผลดีๆที่เราควรพาสอนทารกและเด็กเล็กไปเรียนว่ายน้ำ

1. เด็กแรกเกิดและทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี พร้อมที่จะยอมรับน้ำได้มากกว่าเด็กโต ความกลัวน้ำจะเกิดเมื่อเด็กอายุมากขึ้น ยิ่...

Read More

เด็กเกิดมาพร้อมกับความกลัวน้ำหรือไม่?

คำตอบคือ ไม่ ทารกที่กลัวน้ำนั้นมีน้อยมาก ทารกจะเกิดมาพร้อมสัมผัสด้านการวางตำแหน่งร่างกายที่สมบูรณ์ และรับรู้ถึงการขยับต...

Read More